นักวิทย์ฯ จีน ค้นพบยุงใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดเท่าฝ่ามือ ใหญ่กว่ายุงปกติ 10 เท่า !

นักวิทย์ฯ จีน ค้นพบยุงใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดเท่าฝ่ามือ ใหญ่กว่ายุงปกติ 10 เท่า !

นักกีฏวิทยาจีน ค้นพบยุงขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ความยาวปีก 11.5 เซนติเมตร ใหญ่กว่ายุงปกติถึง 10 เท่า รายงานเผย จะถูกนำมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมในเร็ว ๆ นี้

สา.jpg

ถ้าให้นึกถึงชื่อสัตว์ หรือ แมลงที่ไม่ชอบ เชื่อว่า ยุง คือหนึ่งในนั้น เพราะยุงคือแมลงที่น่ารำคาญ ชอบมาส่งเสียงดัง หวี่ ๆ อยู่ใกล้ ๆ หู โดนกัดทีหนึ่งก็คันไปหลายวัน บางคนเกาจนเลือดออกซิบ ๆ และที่สำคัญก็คือเป็นพาหะนำโรคร้าย แค่ยุงตัวเล็ก ๆ ขนาดไม่ถึง 1 เซนติเมตรก็รู้สึกไม่อยากเข้าใกล้แล้ว แล้วถ้าเป็นยุงตัวใหญ่ยักษ์ ขนาดเท่า ๆ ฝ่ามือล่ะ หลายคนคงนึกไม่ถึงว่าจะมียุงตัวใหญ่แบบนั้นอยู่บนโลก แต่มันมีอยู่จริง ๆ และมีคนพบเจอมันแล้ว

จากการรายงานของเว็บไซต์เดลี่เมล เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2561 ระบุว่า ยุงตัวดังกล่าวถูกพบที่บริเวณภูเขาชิงเฉิง ในมณฑลเสฉวน ทางตอนกลางของประเทศจีน เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยมันมีขนาดที่น่าทึ่งมาก ความยาวปีกทั้ง 2 ข้างรวมกันคือ 11.15 เซนติเมตร และความยาวตั้งแต่หัวจรดปลายหางคือ 4.8 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับยุงปกติทั่วไปแล้ว ยุงตัวนี้มีขนาดใหญ่กว่าถึง 10 เท่า

นายจ้าวหลี นักกีฏวิทยาอาวุโสและนักอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์ป่า ผู้ค้นพบยุงตัวกล่าว เปิดเผยว่า ยุงตัวนี้จัดอยู่ในสปีชีส์ Holorusia Mikado สปีชีส์ยุงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น แต่มันกลับมีขนาดใหญ่กว่าเมื่ออยู่ในจีน ซึ่งเมื่อจ้าวหลีพบเห็นยุงตัวนี้ ขนาดที่ใหญ่ผิดปกติของมันทำให้เขาประหลาดใจมาก เนื่องจากขนาดปกติของยุง Holorusia Mikado นั้นอยู่ที่ประมาณ 8 เซนติเมตร แต่ยุงตัวนี้ใหญ่กว่ามาก และน่าจะเรียกได้ว่ามันคือยุงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เท่าที่เคยค้นพบมา

ถึงแม้ว่าโลกตะวันตกจะเรียกแมลงชนิดนี้ว่า แมลงวันขายาว หรือ แมลงวันแมงมุม (crane fly) ซึ่งเป็นคนละชนิดกับยุง แต่จ้าวหลีก็ยืนยันว่าแมลงที่เขาค้นพบตัวนี้คือยุงแน่ ๆ โดยในทางชีววิทยานั้น จ้าวหลี กล่าวว่า ยุงเป็นแมลงที่จัดอยู่ในอันดับย่อย Nematocera และสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 วงศ์ รวมทั้ง Chironomidae และ Tipuloidae โดยในภาษาจีนนั้น crane fly คือชื่อเรียกโดยรวมของแมลงในวงศ์ Tipulidae มีชื่อเรียกในภาษาจีนที่แปลได้ว่า “ยุงขนาดใหญ่”

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการจำกัดความของยุงในแต่ละที่ก็ทำให้เกิดความสับสนได้ แต่ละประเทศก็มีชื่อเรียกแมลงแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป แต่ในมุมมองของนักชีววิทยานั้น จ้าวหลี กล่าวว่า เจ้า Holorusia mikados ก็สามารถจัดได้ว่าเป็นยุงชนิดหนึ่งเช่นกัน โดยมันมีวงจรชีวิตอยู่ที่ประมาณ 1 สัปดาห์ ถึงแม้ว่ารูปร่างหน้าตามันจะดูน่ากลัว แต่มันก็ไม่กัดคน และมันมีชีวิตอยู่ได้โดยสารอาหารที่มันได้รับขณะที่ยังเป็นตัวอ่อน

ยุงขนาดใหญ่ตัวนี้จะถูกนำมาเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับชม ในงานนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์แมลงภาคตะวันตกของจีน ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2561 ผู้ใดที่สนใจอยากยลโฉมมันอย่างชัด ๆ ก็สามารถเดินทางไปชมได้

อ้างอิง  https://hilight.kapook.com

เฉลย…ลูกไฟสีเขียวเหนือท้องฟ้า จ.เชียงราย คาดเป็น “ดาวตกเทา เฮอร์คิวลิดส์”

เฉลย…ลูกไฟสีเขียวเหนือท้องฟ้า จ.เชียงราย คาดเป็น “ดาวตกเทา เฮอร์คิวลิดส์”


ต่อมา เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ระบุว่า คาดว่าลูกไฟดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฝนดาวตกเทา เฮอร์คิวลิดส์ (Tau Herculids) ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะมีอัตราการตกสูงสุดในคืนวันที่ 2 มิถุนายน 2561

กร.jpg

ทั้งนี้ในแต่ละวันจะมีวัตถุขนาดเล็กผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกเป็นจำนวนมาก โดยทั่วไปจะเป็นลักษณะคล้ายดาวตก เพียงแต่ครั้งนี้เป็นดาวตกที่สว่างมาก ในทางดาราศาสตร์ถือเป็นเรื่องปกติและสามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

อ้างอิง  https://hilight.kapook.com

ยานอวกาศ

ฮะยะบุซะ 2 ไปถึงดาวเคราะห์น้อยเป้าหมาย

02-02-16-3.1.jpg

2 ก.ค. 2561
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
วันที่ 27 มิถุนายน 2561 ยานฮะยะบุซะ 2 ได้จุดจรวดควบคุมทิศทางเพื่อปรับทิศทางเข้าสู่การโคจรเทียบดาวเคราะห์น้อยซึ่งเป็นเป้าหมายของยานได้สำเร็จ 

ฮะยะบุซะ 2 เป็นยานสำรวจขององค์การสำรวจการบินและอวกาศญี่ปุ่นหรือแจ็กซา ออกเดินทางจากโลกไปเมื่อปี 2557 เป้าหมายของการสำรวจคือ ดาวเคราะห์น้อย 162173 ริวกิว (162173 Ryugu)

ในการสำรวจของฮะยะบุซะ 2 จะไม่โคจรรอบดาวเคราะห์ริวกิว แต่จะใช้วิธีโคจรเทียบ นั่นคือการโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปพร้อม ๆ กับวัตถุเป้าหมายโดยรักษาระยะห่างจากดาวเคราะห์น้อย 20 กิโลเมตรคงที่ 

ยานฮะยะบุซะ 2 มีวิธีสำรวจที่หลากหลายและพิสดารมาก ไม่เพียงแต่สำรวจจากระยะไกลเท่านั้น แต่ยังมีการส่งยานลูกไปลงจอด มีรถสำรวจถึงสามคันลงไปวิ่งบนพื้นผิว มีแม้แต่การทิ้งระเบิดใส่และเก็บตัวอย่างกลับโลก

ฮะยะบุซะ 2 จะตามติดเพื่อสำรวจดาวเคราะห์น้อยริวกิวไปเป็นเวลา 18 เดือน ในช่วงแรก ยานจะสำรวจพื้นผิวเพื่อเลือกตำแหน่งที่เหมาะที่สุดที่จะปล่อยยานและรถลงไป รวมถึงสำรวจบริเวณรอบดาวเคราะห์น้อยเพื่อค้นหาดาวบริวารที่อาจมีอยู่ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อยานได้ 

ยานลงจอดมีชื่อว่า มาสคอต (MASCOT) ย่อมาจาก Mobile Asteroid Surface Scout สร้างโดยศูนย์การบินและอวกาศเยอรมัน ยานจะปล่อยมาสคอตลงไปบนดาวเคราะห์น้อยในเดือนตุลาคม แม้จะเป็นเพียงกล่องสี่เหลี่ยมเรียบ ๆ แต่มาสคอตก็ยังเคลื่อนที่ได้โดยการกลิ้งกระดอน ภารกิจในส่วนนี้คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง อุปกรณ์สำคัญที่อยู่บนตัวมาสคอตก็คือ มาตรรังสี สเปกโทรมิเตอร์รังสีอินฟราเรด แมกนิโทมิเตอร์ กล้องถ่ายภาพ

ดาส.jpg

ในช่วงท้ายของภารกิจ ยานฮะยะบุซะ 2 จะหย่อนระเบิดลงไปบนดาวเคราะห์น้อย เพื่อระเบิดพื้นผิวให้เป็นหลุม จากนั้นก็จะเคลื่อนที่เข้าไปจ่อที่หลุมนั้นเพื่อเก็บตัวอย่างวัสดุจากก้นหลุมแล้วนำกลับมายังโลก คาดว่าแคปซูลเก็บตัวอย่างจะกลับมาถึงโลกในปี 2563

ดาวเคราะห์น้อยริวกิว ถูกค้นพบในปี 2542 เป็นดาวเคราะห์น้อยชนิดซี (คาร์บอน) เป็นดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มอะพอลโล ซึ่งเป็นกลุ่มของดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรใกล้โลก ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จึงอยู่ในรายชื่อ ดาวเคราะห์น้อยอันตรายยิ่ง (PHA) ด้วย ดาวเคราะห์น้อยริวกิวมีรูปร่างคล้ายเพชรข้าวหลามตัด มีความกว้างประมาณ 900 เมตร หมุนรอบตัวเองตามแนวตั้งฉากกับวงโคจรด้วยคาบ 7.5 ชั่วโมง

“ตอนนี้ เรามองเห็นหลุมอุกกาบาต มองเห็นก้อนหิน เห็นสภาพภูมิประเทศที่มีความหลากหลายอย่างมากในแต่ละพื้นที่ เป็นทั้งเรื่องน่าประหลาดใจในแง่วิทยาศาสตร์ และเป็นความท้าทายทางวิศวกรรมด้วย” ยุอิชิ ซึดะ ผู้จัดการโครงการของฮะยะบุซะ 2 กล่าว 

การสำรวจดาวเคราะห์น้อยครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของแจ็กซา ในปี 2553 แจ็กซาได้ส่งยานฮะยะบุซะไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยชื่ออิโตะกะวะมาแล้ว แม้ในครั้งนั้นมีปัญหามากมาย แต่ยานก็ยังนำฝุ่นจากผิวดาวเคราะห์น้อยกลับมายังโลกได้สำเร็จ ในภารกิจของฮะยะบุซะ 2 นี้จะละเอียดกว่าที่ภารกิจของฮะยะบุซะมาก

อ้างอิง    https://www.google.co.th